เกร็ดน่ารู้ กระดาษ

 กระดาษทิชชู ทำมาจากอะไร

          วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตกระดาษชำระ ได้แก่เยื่อกระดาษ ซึ่งได้แก่เยื่อกระดาษบริสุทธิ์ ได้แก่เยื่อกระดาษที่ได้จากกระบวนการคัดแยกเยื่อจากต้นไม้เยื่อเวียนใหม่ ได้แก่เยื่อกระดาษซึ่งผลิตจากกระดาษที่นำกลับมาใช้ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีในการจัดแยกเยื่อกระดาษจากสิ่งปฏิกูล และหมึกพิมพ์ และผ่านกระบวนการฟอกสีเพื่อให้ได้เยื่อกระดาษสีขาว สำหรับเป็นวัตถุดิบการผลิตต่อไปโดย

          เยื่อกระดาษที่นำมาใช้ผลิตกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า ได้แก่ส่วนผสมของเซลลูโลสแวดดิ้ง โดยแหล่งนำเข้าเยื่อกระดาษเซลูโลสแวดดิ้งสำคัญของไทย คือ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี กระดาษชำระจะสามารถผลิตได้จากทั้งเยื่อกระดาษบริสุทธิ์และเยื่อเวียนใหม่ 

ประวัติกระดาษทิชชู

          สำหรับกระดาษชำระ หรือกระดาษทิชชูนั้น ประดิษฐ์ขึ้นโดยนักธุรกิจชาวอเมริกา นามว่า นายโจเซฟ กาเย็ตตี้ และออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1857 แต่น่าเสียดายที่กิจการของเขาได้ขาดทุนย่อยยับ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้ กลับไปใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ และใบปลิวต่างๆ แทน ด้วยเหตุผลที่ว่า อ่านได้ เช็ดได้ ไม่เสียเงิน

          แต่อีก 20 ปีต่อมา สองพี่น้องสกุล “สก็อต” จึงได้ผลิตกระดาษชำระออกวางขายอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า สก๊อตทิชชู ในขณะนั้นส้วมชักโครก และห้องน้ำภายในอาคารเริ่มเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง ทำให้คนใช้กระดาษชำระมากขึ้น นอกจากนี้ยังใช้สะดวก เนื้อนุ่มและยังเข้ากับการตกแต่งห้องน้ำอีกด้วย

          ปัจจุบันมีการคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ทิชชูผลิตจาก “เยื่อเวียนทำใหม่” หรือ “เยื่อกระดาษรีไซเคิล” (Recycle Pulp) แทนกระดาษทิชชูที่ผลิตจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ (Virgin Pulp) เพราะมีตัวเลขเปรียบเทียบชัดเจนว่า การผลิตกระดาษ 1ตันจากเยื่อรีไซเคิล 100% ช่วยประหยัดการตัดโค่นต้นไม้ได้ 17 ต้น ใช้น้ำน้อยลง 26,500 ลิตร แถมยังลดใช้น้ำมันอีก 378 ลิตร 

          ทิชชูจากเยื่อเวียนทำใหม่เดิมมีแค่ 2 สีตามวัตถุดิบต้นทาง คือ  สีขาวตุ่นๆ จากการรีไซเคิลเยื่อกระดาษสีขาว เช่น กระดาษเอ 4 กระดาษนิตยสาร  สีน้ำตาลจากการรีไซเคิลเยื่อกระดาษลังหรือหนังสือพิมพ์  ภายหลังมีสีชมพู เนื่องจากสีขาวตุ่นๆ ดูไม่น่าใช้ ผู้ผลิตจึงเติมสีชมพูลงไปกลบเกลื่อนให้ดูสวยงาม

          ผู้ผลิตบางราย นำกระดาษทิชชูแบบวัตถุดิบสำหรับทำกระดาษชำระม้วน ไปทำเป็นกระดาษเช็ดปากเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ จึงต้องใส่สีชมพูให้ดูน่าใช้ แท้จริงแล้วกระดาษทิชชูสีขาวจะดีกว่า สีขาวตุ่นๆ หรือสีน้ำตาลของกระดาษทิชชูไม่ได้การันตีว่าผลิตจากเยื่อกระดาษรีไซเคิลเสมอไป ฉะนั้น อย่าเลือกซื้อโดยพิจารณาแค่สีโดยเด็ดขาด แต่ควรสังเกตและมองหาข้อความที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์เป็นสำคัญ

          กระดาษทิชชู (อังกฤษ: tissue paper) เป็นกระดาษประเภทหนึ่งที่ผลิตจากเยื่อกระดาษ โดยทั่วไปกระดาษทิชชู่แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามประโยชน์ใช้สอย แต่ในประเทศไทย ผู้คนมักนิยมเรียกเหมารวมกระดาษในกลุ่มนี้ว่ากระดาษทิชชู่ และมักไม่แยกการใช้งานของกระดาษทิชชูในกลุ่มนี้
* tissue แปลตรงตัวว่า เนื้อเยื่อ ,เยื่อที่ทำเป็นแผ่นบางๆ

 

ประเภทของกระดาษทิชชู

          กระดาษเช็ดหน้า (facial tissue) เป็นกระดาษทิชชู ที่มีคุณสมบัติความเหนียว นุ่ม เนื่องจากใช้สำหรับซับน้ำภายหลังล้างหน้า หรือใช้สำหรับชำระล้างเครื่องสำอาง เป็นต้น มักจะบรรจุมาในกล่องทรงสี่เหลี่ยม หรือในรูปห่อพลาสติกขนาดเล็ก โดยมีการออกแบบลวดลายบรรจุภัณฑ์ที่งดงาม กระดาษเช็ดหน้านิยมทำเป็นสีขาว

          กระดาษชำระ (toilet paper) เป็นกระดาษทิชชู ที่มีคุณสมบัติความเปี่อยยุ่ยง่ายเมื่อโดนน้ำ ในต่างประเทศจะใช้กระดาษชำระเฉพาะในห้องส้วมเท่านั้น โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นม้วนกลมความกว้าง 4.5 นิ้ว กระดาษชำระอาจมีการใส่สี และพิมพ์ลวดลายเพื่อเพิ่มความงาม

          กระดาษเช็ดปาก (table napkins) กระดาษทิชชูประเภทนี้มีสองล
ักษณะ ประเภทแรก เป็นกระดาษทิชชูที่จัดไว้ในห้องน้ำ เพื่อเช็ดทำความสะอาดมือ อีกประเภทใช้สำหรับวางบนโต๊ะอาหาร ใช้แทนผ้าเช็ดปากสำหรับการรับประทานอาหารแบบตะวันตก ในกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกา มักมีการทำกระดาษเช็ดปากเป็นสีสัน และลวดลายต่าง ๆ สวยงามเพื่อใช้ประดับบนโต๊ะอาหาร 

          กระดาษชำระอเนกประสงค์ (paper towels) เป็นกระดาษทิชชู่สำหรับใช้ใ
นงานบ้านทั่วไป ทดแทนผ้าเช็ดพื้น หรือผ้าเช็ดโต๊ะ ในประเทศไทยกระดาษชำระอเนกประสงค์ไม่เป็นที่นิยม และไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก โดยทั่วไปจำผลิตออกมาในรูปแบบม้วน แต่มีความกว้างของแผ่นประมาณ 9 - 10 นิ้ว และเนื้อกระดาษมีความเหนียวเพื่อใช้ทำความสะอาด และการใช้งานทั่วไป

          กระดาษห่อของ (wrapping tissue) เป็นกระดาษทิชชูที่ใช้เพื่อ
ห่อหุ้มวัตถุสิ่งของ

 

 

******* *******
เครดิต: เรื่องโดย ชีวอโรคยา เขียนจากการสัมภาษณ์ผู้ผลิตกระดาษทิชชู ขอสงวนชื่อ และข้อมูลใน Wikipedia ,สาระน่ารู้ดีดี.com ,myfreezer.wordpress.com 

Visitors: 910,980